คำศัพท์ | ศัพท์บัญญัติ | อักษรย่อ | ความหมาย |
---|---|---|---|
Absorbed dose | ปริมาณ (รังสี) ดูดกลืน | Absorbed dose, DT,R ปริมาณพลังงานที่วัตถุดูดกลืนไว้เมื่อได้รับรังสี มีหน่วยเป็น เกรย์ ปกติจะระบุชนิดของวัตถุและชนิดของรังสี โดยเขียนเป็นสัญลักษณ์ดังนี้ Dmaterial, radiation เช่น Dlung, alpha ยกเว้นรังสีแกมมาอาจไม่ต้องระบุชนิดของรังสี เช่น Dwater (ดู gray, Gy ประกอบ) | |
Absorber | สารดูดกลืน | วัสดุใดๆ ที่สามารถดูดกลืนหรือลดความเข้มของรังสีชนิดก่อไอออน ตัวอย่างของสารดูดกลืนนิวตรอน เช่น แฮฟเนียม หรือ แคดเมียม ใช้เป็นแท่งควบคุมในเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ สารดูดกลืนรังสีแกมมา เช่น คอนกรีตและเหล็ก ใช้เป็นวัสดุกำบังรังสีในเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ แผ่นกระดาษหรือแผ่นโลหะบางสามารถดูดกลืนหรือลดความเข้มของรังสีแอลฟาได้ | |
Accelerator | เครื่องเร่งอนุภาค | เครื่องเพิ่มความเร็วและพลังงานจลน์ของอนุภาคที่มีประจุไฟฟ้า เช่น โปรตอนหรืออิเล็กตรอน โดยใช้แรงแม่เหล็กและ/หรือไฟฟ้า ทำให้อนุภาคเหล่านั้นเคลื่อนที่ด้วยความเร็วใกล้ความเร็วแสง เครื่องเร่งอนุภาคมีหลายชนิด เช่น ไซโคลทรอน ซิงโครทรอน เครื่องเร่งอนุภาคเชิงเส้น และบีตาทรอน | |
Actinide series | อนุกรมแอกทิไนด์ | กลุ่มธาตุในตารางพีริออดิก ตั้งแต่ลำดับที่ 89 แอกทิเนียม (actinium, Ac) จนถึงลำดับที่ 103 ลอว์เรนเซียม (lawrencium, Lr) รวม 15 ธาตุ ซึ่งเป็นธาตุกัมมันตรังสีทั้งสิ้น | |
Actinium sequence | อนุกรมแอกทิเนียม | กลุ่มนิวไคลด์ที่เกิดขึ้นตามลำดับจากการสลายของยูเรเนียม-235 นิวไคลด์สุดท้ายของอนุกรมนี้คือ ตะกั่ว-207 นิวไคลด์หลายชนิดที่มนุษย์ผลิตขึ้นก็มีการสลายตามอนุกรมนี้ | |
Actinium series | อนุกรมแอกทิเนียม | กลุ่มนิวไคลด์ที่เกิดขึ้นตามลำดับจากการสลายของยูเรเนียม-235 นิวไคลด์สุดท้ายของอนุกรมนี้คือ ตะกั่ว-207 นิวไคลด์หลายชนิดที่มนุษย์ผลิตขึ้นก็มีการสลายตามอนุกรมนี้ | |
Action level | ระดับต้องปฏิบัติ | ระดับอัตราปริมาณรังสี หรือ ความเข้มข้นกัมมันตภาพ ซึ่งต้องดำเนินการตามมาตรการแก้ไขหรือป้องกันทันที เพื่อไม่ให้บุคคลได้รับรังสีแบบเรื้อรัง หรือกรณีฉุกเฉิน | |
Activation | การก่อกัมมันตภาพรังสี | กระบวนการทำให้ธาตุเกิดกัมมันตภาพรังสีโดยการระดมยิงธาตุนั้นๆ ด้วยนิวตรอน โปรตอน หรือ อนุภาคอื่นๆ ตัวอย่างการก่อกัมมันตภาพรังสี เช่น การผลิตสารไอโซโทปกัมมันตรังสีไอโอดีน-131 โดยการระดมยิงธาตุเทลลูเรียมด้วยนิวตรอน | |
Activation analysis | การวิเคราะห์เชิงก่อกัมมันตภาพรังสี | การจำแนกชนิดและตรวจหาปริมาณของธาตุในสารตัวอย่าง โดยการตรวจวัดรังสีแกมมาลักษณะเฉพาะที่ปลดปล่อยจาก นิวไคลด์กัมมันตรังสีที่เกิดขึ้นจากการนำสารตัวอย่างนั้นไปก่อกัมมันตภาพรังสี (ดู Activation ประกอบ) | |
Activation products | ผลผลิตจากการก่อกัมมันตภาพรังสี | นิวไคลด์กัมมันตรังสีที่เกิดจากการก่อกัมมันตภาพรังสี (ดู Fission products ประกอบ) | |
Active fuel length | ความยาวเนื้อเชื้อเพลิง | ความยาวสุทธิของเนื้อเชื้อเพลิงในแท่งเชื้อเพลิง โดยไม่รวมความยาวของส่วนประกอบอื่นๆ ของแท่งเชื้อเพลิงนั้น | |
Activity | กัมมันตภาพ | การสลายของนิวไคลด์กัมมันตรังสีต่อหน่วยเวลา ปัจจุบันหน่วยที่ใช้ คือ เบ็กเคอเรล คำนี้ตามรายงานฉบับที่ 33 ของคณะกรรมาธิการระหว่างประเทศด้านหน่วยและการวัดรังสี (International Commission on Radiation Units and Measurement: ICRU No. 33) ให้ความหมายว่า เป็นจำนวนของนิวไคลด์กัมมันตรังสีในขณะใดขณะหนึ่งที่สลายเปลี่ยนแปลงไปต่อวินาที (ดู Becquerel, Bq และ Curie, Ci ประกอบ) | |
Activity concentration | ความเข้มข้นกัมมันตภาพ | กัมมันตภาพของนิวไคลด์กัมมันตรังสีต่อหน่วยปริมาตร เช่น เบ็กเคอเรลต่อมิลลิลิตร (Bq/ml) มิลลิคูรีต่อมิลลิลิตร (mCi/ml) | |
Acute exposure | การรับรังสีเฉียบพลัน | การรับปริมาณรังสีในระยะเวลาสั้นซึ่งสามารถนำไปคำนวณเป็นปริมาณรังสีที่ได้รับในคราวเดียว | |
Acute intake | การรับนิวไคลด์กัมมันตรังสีเฉียบพลัน | การรับนิวไคลด์กัมมันตรังสีเข้าสู่ร่างกายภายในระยะเวลาสั้น ซึ่งสามารถนำไปคำนวณเป็นปริมาณรังสีผูกพันที่ได้รับในคราวเดียว | |
Advanced Gas-cooled Reactor | เครื่องปฏิกรณ์ขั้นสูงระบายความร้อนด้วยแก๊ส, เอจีอาร์ | AGR | เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ผลิตไฟฟ้าแบบหนึ่ง ใช้แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ระบายความร้อน โดยพัฒนามาจากแบบที่ระบายความร้อนด้วยน้ำ ตัวอย่างของเครื่องปฏิกรณ์ชนิดนี้คือเครื่องปฏิกรณ์ Hinkley Point B อยู่ทางตะวันตกของประเทศอังกฤษ ใช้ยูเรเนียมไดออกไซด์ (มียูเรเนียม-235 ร้อยละ 1.4 ถึง 2.6) เป็นเชื้อเพลิง และใช้แกรไฟต์เป็นสารลดความเร็วนิวตรอน เครื่องปฏิกรณ์นี้ สามารถผลิตไอน้ำที่มีอุณหภูมิสูงถึง 540 องศาเซลเซียส และความดัน 16 เมกะพาสคัล ทำให้มีประสิทธิภาพในการผลิตพลังงานไฟฟ้าได้สูงถึงร้อยละ 40 ซึ่งสูงเท่ากับโรงไฟฟ้าพลังเชื้อเพลิงฟอสซิลที่มีประสิทธิภาพสูงสุดในปัจจุบัน |
Alpha particle | อนุภาคแอลฟา | อนุภาคที่มีประจุบวก ประกอบด้วยโปรตอน 2 อนุภาค และนิวตรอน 2 อนุภาค ซึ่งเหมือนกับนิวเคลียสของฮีเลียม-4 มีความสามารถในการทะลุทะลวงต่ำ ผ่านอากาศได้เพียง 2-3 เซนติเมตร และไม่สามารถทะลุผ่านแผ่นกระดาษหรือผิวหนังได้ อนุภาคแอลฟาเกิดจากการสลายของสารกัมมันตรังสีบางชนิด เช่น ยูเรเนียม และทอเรียม | |
Alpha ray | รังสีแอลฟา | กระแสของอนุภาคแอลฟา หรืออาจใช้เรียกแทนอนุภาคแอลฟาได้
(ดู Alpha particle ประกอบ) | |
Ambient dose equivalent | ปริมาณรังสีสมมูลโดยรอบ | ปริมาณรังสีสมมูลที่อ้างอิงกับทรงกลมไอซีอาร์ยู ใช้ในการปรับเทียบปริมาณรังสียังผลของเครื่องมือตรวจวัดรังสี (ดู ICRU sphere ประกอบ) | |
Annihilation | ประลัย | ปฏิกิริยาระหว่างอนุภาคกับปฏิยานุภาคของอนุภาคนั้นๆ แล้วอนุภาคทั้งสองหายไปกลายเป็นรังสีแกมมาพลังงานเท่ากันเคลื่อนที่ออกไปในทิศทางตรงข้ามกัน เช่นการรวมตัวของอิเล็กตรอนกับโพซิตรอน ได้รังสีแกมมาพลังงานรวม 1.02 ล้านอิเล็กตรอนโวลต์ (ดู Antimatter ประกอบ) | |
Annual dose | ปริมาณรังสีรอบปี | ปริมาณรังสีรวมในรอบปีที่ได้รับจากภายนอกร่างกาย และจากนิวไคลด์กัมมันตรังสีที่เข้าสู่ร่างกาย | |
Annual Limit on Intake | เอแอลไอ, ขีดจำกัดการรับนิวไคลด์กัมมันตรังสีรอบปี | ALI | ปริมาณสูงสุดของนิวไคลด์กัมมันตรังสีแต่ละชนิด ที่ร่างกายได้รับโดยการหายใจ การกิน หรือ ผ่านทางผิวหนังในเวลา 1 ปี ได้จากการคำนวณปริมาณรังสีผูกพันโดยใช้แบบจำลองมนุษย์อ้างอิง (Reference Man) จะเท่ากับขีดจำกัดปริมาณรังสี |
Anticipated operational occurrence | อุบัติการณ์ที่อยู่ในความคาดหมาย | เหตุการณ์ที่เบี่ยงเบนไปจากการทำงานตามปกติของโรงงานนิวเคลียร์ ซึ่งคาดว่าตลอดอายุการใช้งานจะเกิดขึ้นได้อย่างน้อยหนึ่งครั้ง แต่ได้มีการออกแบบรองรับเหตุการณ์นี้ไว้แล้วเพื่อความปลอดภัย และป้องกันมิให้ลุกลามเป็นอุบัติเหตุ เช่น หากพลังงานไฟฟ้าที่จ่ายให้แก่เครื่องสูบน้ำของระบบระบายความร้อนเกิดขัดข้อง ระบบไฟฟ้าสำรองก็จะทำงานทันที | |
Antimatter | ปฏิสสาร | สสารที่มีอะตอมประกอบด้วยปฏิยานุภาค เช่น อะตอมของแอนติไฮโดรเจนประกอบด้วยนิวเคลียสที่มีแอนติโปรตอนจำนวน 1 อนุภาค และมีโพซิตรอน 1 อนุภาคโคจรอยู่รอบๆ (ดู antiparticle ประกอบ) | |
Antiparticle | ปฏิยานุภาค | อนุภาคที่มีมวล ประจุไฟฟ้า และเลขสปิน เท่ากับอนุภาคนิวเคลียร์ชนิดเดียวกัน แต่มีประจุไฟฟ้าและหรือโมเมนต์แม่เหล็กตรงข้ามกัน ตัวอย่างโปรตอนมีประจุไฟฟ้า +1 ส่วนแอนติโปรตอนมีประจุไฟฟ้า | |
Area monitoring | การเฝ้าสังเกตพื้นที่ | การเฝ้าสังเกตปริมาณรังสี หรือการเปื้อนของสารกัมมันตรังสีจากการตรวจวัดพื้นที่ในสถานปฏิบัติการทางรังสี ณ ตำแหน่งต่างๆ | |
Area survey | การสำรวจพื้นที่ | ขั้นตอนเบื้องต้นในการหาพื้นที่เพื่อเป็นที่ตั้งสถานปฏิบัติการทางนิวเคลียร์หรือทางรังสี โดยสำรวจข้อมูลและปัจจัยต่างๆ ของแต่ละพื้นที่ เพื่อพิจารณาผลกระทบที่อาจมีต่อความปลอดภัยของสถานปฏิบัติการ และคัดสถานที่ที่ไม่เหมาะสมออก | |
As Low As Reasonably Achievable | อะลารา | ALARA | การดำเนินการใดๆ ในทางปฏิบัติที่ทำให้งานสำเร็จตามวัตถุประสงค์โดยได้รับรังสีชนิดก่อไอออนน้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ |
Atom | อะตอม | หน่วยที่เล็กที่สุดที่ยังคงสมบัติทางเคมีของธาตุ โครงสร้างของอะตอมประกอบด้วยนิวเคลียสอยู่ตรงกลางและอิเล็กตรอนอยู่ในวงโคจรรอบนิวเคลียส นิวเคลียสประกอบด้วยโปรตอนและนิวตรอน ในสภาพปกติอะตอมมีจำนวนอิเล็กตรอนเท่ากับโปรตอน | |
Atomic bomb | ลูกระเบิดอะตอม | ลูกระเบิดที่แรงระเบิดเกิดจากปฏิกิริยาการแบ่งแยกนิวเคลียสของธาตุหนัก เช่น ยูเรเนียม-235 หรือ พลูโทเนียม-239 ปฏิกิริยานี้เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว (ดู Fission ประกอบ) | |
Atomic cloud | อะตอมิกคลาวด์ | กลุ่มแก๊สร้อน ควัน ฝุ่น และสสารอื่นๆ ที่ลอยขึ้นสู่ท้องฟ้าหลังการระเบิดของอาวุธนิวเคลียร์ในอากาศหรือใกล้ผิวโลก มักมีรูปร่างเหมือนดอกเห็ด เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า mushroom cloud (ดู Fireball และ Radioactive cloud ประกอบ) | |
Atomic energy | พลังงานอะตอม | พลังงานที่ปลดปล่อยออกมาเมื่อมีการแบ่งแยกนิวเคลียสหรือการหลอมนิวเคลียสของอะตอม หรือจากการสลายของสารกัมมันตรังสี ปัจจุบันนิยมใช้ “พลังงานนิวเคลียร์" | |
Atomic mass | มวลเชิงอะตอม | อัตราส่วนของมวลเฉลี่ยต่ออะตอมของธาตุใด ๆ ต่อ 1/12 ของมวลคาร์บอน-12 หนึ่งอะตอม แต่เดิมใช้คำว่าน้ำหนักเชิงอะตอม (atomic weight,A) เช่น มวลเชิงอะตอมของคลอรีน เท่ากับ 35.5 หมายถึง คลอรีน 1 อะตอม หนักเป็น 35.5 เท่าของ 1/12 ของมวลคาร์บอน-12 หนึ่งอะตอม | |
Atomic Mass Unit | หน่วยมวลอะตอม | AMU | หน่วยของมวล โดยหนึ่งหน่วยมีค่าเท่ากับ 1/12 ของมวลหนึ่งอะตอมของคาร์บอน-12 ซึ่งมีค่าเท่ากับ 1.66033 10–27 กิโลกรัม หน่วยนี้ใช้สำหรับอะตอมและโมเลกุล |
Atomic number, Z | เลขเชิงอะตอม | จำนวนโปรตอนภายในนิวเคลียสของอะตอมใดๆ และเป็นสิ่งชี้บอกตำแหน่งของธาตุในตารางพีริออดิก | |
Atomic reactor | เครื่องปฏิกรณ์ปรมาณู | ดู Nuclear reactor | |
Atomic weapon | อาวุธอะตอม | อาวุธระเบิดซึ่งพลังงานเกิดจากปฏิกิริยาการแบ่งแยกนิวเคลียส (ดู nuclear weapon ประกอบ) | |
Atomic weight, A | น้ำหนักเชิงอะตอม | น้ำหนักทั้งหมดของโปรตอนกับนิวตรอนในนิวเคลียสของธาตุรวมกัน (ดู atomic mass ประกอบ) | |
Attenuation | การลด (ความเข้มของรังสี) | การลดลงของความเข้มของรังสีเมื่อผ่านสสารเนื่องจากกระบวนการดูดกลืนและการกระเจิงรังสี | |
Autoradiograph | ภาพรังสีในตัว | ภาพบันทึกการกระจายของรังสีจากสารกัมมันตรังสีในวัตถุหรือสิ่งมีชีวิต โดยวางวัตถุนั้นไว้ใกล้แผ่นฟิล์มถ่ายภาพหรือเยื่อไวแสง (emulsion) รังสีที่แผ่ออกมาจะทำให้เกิดภาพบนแผ่นฟิล์มหรือเยื่อไวแสง (ดู radiography ประกอบ) | |
Avertable dose | ปริมาณรังสีลดได้ | ปริมาณรังสีที่ได้รับซึ่งสามารถลดได้ ถ้ามีการใช้มาตรการป้องกัน | |
Averted dose | ปริมาณรังสีลดลง | ปริมาณรังสีที่ป้องกันได้เมื่อใช้มาตรการป้องกัน ซึ่งเป็นผลต่างของปริมาณรังสีที่คาดว่าจะได้รับ ในกรณีที่ไม่ใช้และใช้มาตรการป้องกัน |