sanction | ไม่ระบุศัพท์บัญญัติ | | การคว่ำบาตร (ในกรอบสหประชาชาติ)
" หมายถึง มาตรการลงโทษที่คณะมนตรีความมั่นคง ใช้ต่อประเทศสมาชิกที่มีการกระทำที่ละเมิดกฎบัตรสหประชาชาติ รวมทั้งเป็นภัยต่อสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศโดยการจำกัด หรือห้ามประเทศสมาชิกอื่น ๆ ติดต่อในด้านต่าง ๆ (เช่น ด้านการค้า การคมนาคมขนส่ง) อย่างเป็นทางการกับประเทศนั้น ๆ เพื่อบีบบังคับให้มีการปฏิบัติตามข้อมติของคณะมนตรีความมั่นคง มาตรการห้ามการ ติดต่อเหล่านี้ บางครั้งเรียกว่า ปิดล้อม (embargo) เช่น ปิดล้อมด้านอาวุธ ปิดล้อมด้านการค้า เป็นต้น "
|
Sanctions | ไม่ระบุศัพท์บัญญัติ | | การบังคับตามกฎระหว่างประเทศ
หมายถึงการที่หลาย ๆ ชาติได้ลงมติใช้มาตรการบังคับหรือจูงใจพร้อม ๆกันเพื่อบังคับให้ชาติหนึ่งที่ละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศ ทำการยับยั้ง (Desist) หรือยินยอมให้มีการชี้ขาดตัดสิน (Adjudication) หรือกล่าวอย่างสั้น ๆ แซ็งชั่นก็คือ หนทางที่บังคับพันธกรณีทางกฎหมายให้เป็นไปตามกฎหมายเรื่องแซ็งชั่นนี้ กฎบัตรสหประชาชาติได้กล่าวไว้ในบทที่ 7 ข้อ 41 และ 42 มีข้อความดังนี้ ?ข้อ 41 คณะมนตรีความมั่นคงอาจวินิจฉัยว่า จะต้องใช้มาตรการอันใดอันไม่มีการใช้กำลังอาวุธ เพื่อยังผลให้เกิดแก่คำวินิจฉัยของคณะมนตรี และอาจเรียกร้องให้สมาชิกแห่งสหประชาชาติใช้มาตรการเช่นว่านั้น มาตรการเหล่านี้อาจรวมถึงการตัดสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ และการคมนาคมทางรถไฟ ทางทะเล ทางอากาศ ทางไปรษณีย์โทรเลข ทางวิทยุ และวิถีทางคมนาคมอย่างอื่นโดยสิ้นเชิงหรือแต่บางส่วน และการตัดความสัมพันธ์ทางการทูต ข้อ 42 หากคณะมนตรีความมั่นคงพิจารณาเห็นว่ามาตรการที่บัญญัติไว้ในข้อ 41 น่าจะไม่เพียงพอ หรือได้พิสูจน์แล้วว่าไม่เพียงพอ คณะมนตรีก็อาจดำเนินการใช้กำลังทางอากาศ ทางทะเล หรือทางพื้นดินเช่นที่เห็นจำเป็น เพื่อธำรงไว้ หรือสถาปนากลับคืนมาซึ่งสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ การดำเนินการเช่นว่านี้ อาจรวมถึงการแสดงแสนยานุภาพ การปิดล้อม และการปฏิบัติอย่างอื่นโดยกำลังทางอากาศ ทางทะเล หรือทางพื้นดินของบรรดาสมาชิกแห่งสหประชาชาติ
|
Sanitary and Phytosanitary | ไม่ระบุศัพท์บัญญัติ | SPS | สุขอนามัยและสุขอนามัยพืช
เป็นมาตรการด้านสุขอนามัยและสุขอนามัยพืชสำหรับผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อให้เกิด ความปลอดภัยสำหรับผู้บริโภค ในขณะเดียวกันมาตรการดังกล่าวจะต้องไม่เป็นอุปสรรคต่อการค้าระหว่างประเทศ
|
Schengen States | ไม่ระบุศัพท์บัญญัติ | | กลุ่มประเทศในสหภาพยุโรปบางประเทศที่ยอมรับกันให้ประชาชนของแต่ละประเทศ สามารถเดินทางไปมาถึงกันและเข้าเมืองได้โดยไม่มีการตรวจลงตราหรือมีการควบ คุมใดๆ ระหว่างกัน และสำหรับประชาชนจากประเทศที่สาม หากได้รับอนุญาตให้เดินทางไปประเทศหนึ่งประเทศใดในกลุ่มประเทศนี้แล้ว จะสามารถเดินทางต่อไปประเทศอื่น ๆ ในกลุ่มนี้ได้โดยไม่มีการควบคุม สมาชิกประกอบด้วย เบลเยี่ยม เยอรมนี ฝรั่งเศส กรีซ อิตาลี ลักเซมเบิร์ก เนเธอร์แลนด์ ออสเตรีย โปรตุเกส สวิตเซอร์แลนด์ และสเปน |
seating plan | ไม่ระบุศัพท์บัญญัติ | | แผนผังที่นั่ง (ในโต๊ะอาหาร) |
second, support a proposal | ไม่ระบุศัพท์บัญญัติ | | รับรอง, สนับสนุนข้อเสนอ |
Secretariat of the United Nations | ไม่ระบุศัพท์บัญญัติ | | คือสำนักเลขาธิการสหประชาชาติ
ประกอบด้วยตัวเลขาธิการ ซึ่งได้รับการแต่งตั้งโดยสมัชชาตามข้อเสนอแนะของคณะมนตรีความมั่นคง พร้อมคณะเจ้าหน้าที่ตามที่องค์การต้องการหน้าที่สำคัญของเลขาธิการสหประชา ชาติ คือ ทำหน้าที่เป็นหัวหน้าฝ่ายบริหารขององค์การ นำเรื่องใดก็ตามเสนอต่อคณะมนตรีความมั่นคง ซี่งตามทรรศนะของเลขาธิการเห็นว่าเป็นภัยคุกคามสันติภาพและความมั่นคง ระหว่างประเทศ นอกจากนี้ ยังมีหน้าที่ทำรายงานประจำปี และรายงานเพิ่มเติมใด ๆ ที่จำเป็นเสนอต่อสมัชชาสหประชาชาติ เกี่ยวกับงานขององค์การ สหประชาชาติคณะเจ้าหน้าที่ที่ทำงานช่วยเหลือเลขาธิการนั้น ถือเป็นเจ้าหน้าที่ระหว่างประเทศ ประกอบด้วยชนชาติต่าง ๆ ในการเกณฑ์เจ้าหน้าที่เหล่านี้เข้าทำงานกับสหประชาชาติ จะคัดแต่ผู้ที่มีประสิทธิภาพ ความสามารถ และความซื่อสัตย์ในระดับสูงสุด และคำนึงถึงเขตภูมิศาสตร์ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ในการทำงานตามหน้าที่ ทั้งตัวเลขาธิการและคณะเจ้าหน้าที่ผู้ร่วมงาน จะต้องไม่แสวงหรือรับคำสั่งจากรัฐบาลใด ๆ หรือจากผู้มีอำนาจหน้าที่อื่นใดที่อยู่นอกเหนือองค์การสหประชาชาติ ขณะเดียวกัน สมาชิกของสหประชาชาติได้ตกลงยอมรับนับถือความรับผิดชอบที่มีลักษณะระหว่าง ประเทศของสำนักเลขาธิการ และจักไม่แสวงใช้อิทธิพลใด ๆ ต่อสำนักเลขาธิการ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามความรับผิดชอบเหล่านั้น
|
security community | ไม่ระบุศัพท์บัญญัติ | | ประชาคมความมั่นคง
เป็นการรวมตัวกันของบรรดาประเทศในภูมิภาคเพื่อศึกษาและเสริมสร้างความมั่นคง ของภูมิภาค โดยเน้นการส่งเสริมความร่วมมือบนพื้นฐานของแนวความคิดของความมั่นคงร่วมกัน
|
Security Council of the United Nations | ไม่ระบุศัพท์บัญญัติ | | คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ
คณะมนตรีนี้ประกอบด้วยสมาชิกถาวร (Permanent members) 5 ประเทศ คือ จีน ฝรั่งเศส สหภาพโซเวียต อังกฤษ และสหรัฐฯ และมีสมาชิกไม่ถาวร (Non-permanent members) อีก 10 ประเทศ ซึ่งสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติเป็นผู้เลือกตั้ง และให้ดำรงอยู่ในตำแหน่งประเทศละ 2 ปี สมาชิกประเภทนี้ไม่มีสิทธิรับเลือกตั้งใหม่ในทันที และในการเลือกตั้งจะคำนึงส่วนเกื้อกูลหรือบทบาทของประเทศผู้สมัครที่มีต่อ การธำรงรักษาไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ รวมทั้งที่มีต่อวัตถุประสงค์อื่น ๆ ขององค์การสหประชาชาติด้วย ในการเลือกตั้ง จะคำนึงถึงการแบ่งกลุ่มประเทศสมาชิกดังนี้คือ ก. 5 ประเทศจากแอฟริกาและเอเชียข. 1 ประเทศจากยุโรปตะวันออกค. 2 ประเทศจากละตินอเมริกาง. 2 ประเทศจากยุโรปตะวันตก และประเทศอื่น ๆหน้าที่ของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติมีดังนี้1. ธำรงรักษาสันติภาพ และความมั่นคงระหว่างประเทศตามวัตถุประสงค์และหลักการของสหประชาชาติ2. สอบสวนเกี่ยวกับกรณีพิพาทหรือสถานการณ์ใด ๆ ซึ่งอาจนำไปสู่การกระทบกระทั่งระหว่างประเทศ3. เสนอแนะวิธีที่จะใช้กรณีพิพาทเช่นว่านั้น หรือ เงื่อนไขที่ให้มีการตกลงปรองดองกัน4. วางแผนเพื่อสถาปนาระบบการควบคุมกำลังอาวุธ5. ค้นหาและวินิจฉัยว่ามีภัยคุกคามต่อสันติภาพ หรือ เป็นการกระทำที่รุกรานหรือไม่ แล้วเสนอแนะว่าควรจะปฏิบัติอย่างไร 6. เรียกร้องให้สมาชิกประเทศที่ทำการลงโทษในทางเศรษฐกิจ และใช้มาตรการอื่น ๆ ที่ไม่ถึงขั้นทำสงคราม เพื่อป้องกันมิให้เกิดหรือหยุดยั้งการรุกราน7. ดำเนินการทางทหารตอบโต้ฝ่ายที่รุกราน8. เสนอให้รับประเทศสมาชิกใหม่ รวมทั้งเงื่อนไขหรือกฎเกณฑ์ ในการที่จะเข้าเป็นภาคีตามกฎหมายของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ 9. ทำหน้าที่ให้ภาวะทรัสตีของสหประชาชาติ ในเขตที่ถือว่ามีความสำคัญทางยุทธศาสตร์10. เสนอแนะให้สมัชชาสหประชาชาติ แต่งตั้งตัวเลขาธิการและร่วมกับสมัชชาในการเลือกตั้งผู้พิพากษาศาลโลก11. ส่งรายงานประจำปีและรายงานพิเศษต่อสมัชชาสหประชาชาติบรรดาประเทศสมาชิกของสห ประชาชาติ ต่างตกลงยินยอมที่จะปฏิบัติตามข้อมติใด ๆ ของคณะมนตรีความมั่นคง ทั้งยังรับรองที่จะจัดกำลังกองทัพของตนให้แก่คณะมนตรีความมั่นคงหากขอร้อง รวมทั้งความช่วยเหลือและและอุปกรณ์อื่น ๆ ที่จำเป็นต่อการธำรงรักษาไว้ซึ่งสันติภาพ และความมั่นคงระหว่างประเทศ
|
self-determination | ไม่ระบุศัพท์บัญญัติ | | การกำหนดใจตนเอง
หมายถึง สิทธิและเสรีภาพในการที่จะให้ชนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งในประเทศใดประเทศหนึ่ง ตัดสินหรือกำหนดสถานะด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมของตน โดยเลือกที่จะอยู่อย่างเดิมหรือแยกตัวออกไป
|
self-governing country | ไม่ระบุศัพท์บัญญัติ | | ประเทศที่ปกครองตนเอง |
Senior Economic Officials Meeting | ไม่ระบุศัพท์บัญญัติ | SEOM | การประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสเศรษฐกิจอาเซียน
เป็นการประชุมระดับปลัดกระทรวงพาณิชย์ จัดขึ้นปีละ 5-6 ครั้ง เพื่อหารือทบทวน และพิจารณากำหนดแนวทางความร่วมมือทางเศรษฐกิจของอาเซียน
|
Senior Officials Meeting | ไม่ระบุศัพท์บัญญัติ | SOM | การประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสระดับปลัดกระทรวง |
Senior Officials Meeting of the ASEAN Ministers on Agriculture and Forestry | ไม่ระบุศัพท์บัญญัติ | SOM-AMAF | การประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสของรัฐมนตรีอาเซียนด้านการเกษตรและป่าไม้ |
Senior Officials Meeting on Development Planning | ไม่ระบุศัพท์บัญญัติ | SOM-DP | การประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านการวางแผนการพัฒนาอาเซียน |
Senior Officials Meeting on Energy | ไม่ระบุศัพท์บัญญัติ | SOME | การประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียนด้านพลังงาน |
Senior Officials Meeting on Investment | ไม่ระบุศัพท์บัญญัติ | SOM-I | การประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านการลงทุน |
Senior Officials Meeting on Rural Development and Poverty Eradication | ไม่ระบุศัพท์บัญญัติ | SOMRDPE | การประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียนด้านการพัฒนาชนบทและการขจัดความยากจน |
Senior Officials Meeting on Transnational Crime | ไม่ระบุศัพท์บัญญัติ | SOMTC | การประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียนด้านอาชญากรรมข้ามชาติ |
Senior Officials' Meeting on Trade and Investment | ไม่ระบุศัพท์บัญญัติ | SOMTI | การประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านการค้าและการลงทุนของเอเชีย-ยุโรป
เป็นกลไกหนึ่งภายใต้อาเซม สำหรับความสัมพันธ์ด้านการค้าและการ ลงทุนระหว่างประเทศสมาชิก เริ่มเมื่อปี พ.ศ. 2539
|
Senior Transport Officials Meeting | ไม่ระบุศัพท์บัญญัติ | STOM | การประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านการขนส่ง
ของอาเซียน
|
Sensitive List | ไม่ระบุศัพท์บัญญัติ | SL | รายการอ่อนไหว
" หมายถึง รายการสินค้าหรือสาขาการลงทุนที่มีความอ่อนไหวของ แต่ละประเทศที่จะได้รับผลกระทบจากแผนงานความร่วมมือด้าน การค้าเสรีหรือการลงทุนเสรี "
|
Servicio Nacional de Sanidad y Calidad Agroalimentaria | ไม่ระบุศัพท์บัญญัติ | SENASA | สำนักงานตรวจสอบสุขอนามัยพืชและสัตว์ของ อาร์เจนตินา
เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบการตรวจสอบมาตรฐานการส่งออก และนำเข้าสินค้าเกษตรและสัตว์ ซึ่งอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงเศรษฐกิจและการผลิตของอาร์เจนตินา โรงงานผลิตสัตว์น้ำของไทยที่ส่งออกสินค้าไปยังอาร์เจนตินาจะต้องได้รับใบ รับรองมาตรฐานการผลิตจาก SENASA ก่อนที่จะได้รับอนุญาตให้นำสินค้าเข้าสู่อาร์เจนตินา
|
session (meeting) | ไม่ระบุศัพท์บัญญัติ | | สำหรับการประชุม หมายถึง สมัยประชุม หรือช่วงการประชุม |
Shanghai Cooperation Organization | ไม่ระบุศัพท์บัญญัติ | SCO | พัฒนามาจากเวทีการประชุม Shanghai Five ซึ่งจีนเป็นผู้ริเริ่มก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2539 เดิมมีสมาชิก 5 ประเทศ ได้แก่ จีน รัสเซีย คาซัคสถาน สาธารณรัฐคีร์กีซ และทาจิกิสถาน ต่อมาเมื่อเดือนมิถุนายน 2544 อุซเบกิสถาน ได้เข้าเป็นสมาชิกด้วย จึงมีการเปลี่ยนชื่อกลไกความ ร่วมมือนี้เป็น Shanghai Cooperation Organization เดิมมีวัตถุประสงค์ เพื่อเสริมสร้างความมั่นใจและแก้ไขข้อพิพาทเกี่ยวกับพรมแดนของประเทศสมาชิก และต่อมาได้ขยายขอบเขตความร่วมมือให้ครอบคลุม ทั้งด้านการเมือง ความมั่นคง เศรษฐกิจการค้า วิทยาศาสตร์ วัฒนธรรม การศึกษา พลังงาน การคมนาคม |
Shanghai Five | ไม่ระบุศัพท์บัญญัติ | | ดูที่ SCO - Shanghai Cooperation Organization |
shirt and tie | ไม่ระบุศัพท์บัญญัติ | | ชุดเสื้อเชิ้ต ผูกไท |
short dress | ไม่ระบุศัพท์บัญญัติ | | ชุดกลางวันสำหรับสุภาพสตรี |
Shuttle Diplomacy | ไม่ระบุศัพท์บัญญัติ | | การทูตแบบกระสวย
หมายถึง การเดินทางไปเจรจาทางการทูตเพื่อคลี่คลายปัญหาหรือกรณีพิพาทโดยผู้ไกล่ เกลี่ยจะต้องเดินทางกลับไป-กลับมาระหว่างประเทศหรือคู่กรณีที่มีความขัดแย้ง กัน เช่น การแก้ปัญหาในตะวันออกกลาง
|
Sister Cities | ไม่ระบุศัพท์บัญญัติ | | บ้านพี่เมืองน้อง
หมายถึง ความตกลงระหว่างประเทศ หรือเมืองในประเทศที่ต่างกัน ในการที่จะสถาปนาเมืองในประเทศของแต่ละฝ่ายให้มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกันเป็น พิเศษ เช่น นครเชียงใหม่เป็นบ้านพี่เมืองน้องกับนครเซี่ยงไฮ้ หรือกรุงเทพฯ เป็นบ้านพี่เมืองน้องกับนครลอสแอนเจลิส
|
sit-down dinner | ไม่ระบุศัพท์บัญญัติ | | งานเลี้ยงอาหารค่ำที่มีการจัดแผนผังที่นั่ง |
Size of Consular Staff | ไม่ระบุศัพท์บัญญัติ | | ขนาดของคณะเจ้าหน้าที่ฝ่ายกงสุล
ข้อ 20 ในอนุสัญญากรุงเวียนนาบัญญัติไว้ว่า ในกรณีที่ไม่มีความตกลงอย่างชัดเจนในเรื่องขนาดของคณะเจ้าหน้าที่ฝ่ายกงสุล รัฐผู้รับอาจกำหนดให้รักษาขนาดของคณะเจ้าหน้าที่ไว้ภายในขีดจำกัดที่ตน พิจารณาเห็นว่าปกติและสมควรได้ ทั้งนี้โดยคำนึงถึงพฤติการณ์และสถานการณ์ในเขตกงสุลนั้น รวมทั้งความต้องการของสถานที่ทำการทางกงสุลแห่งนั้นโดยเฉพาะ
|
Size of Staff of Diplomatic Mission | ไม่ระบุศัพท์บัญญัติ | | ขนาดของคณะผู้แทนทางการทูต
โดยพฤตินัย จำนวนคณะผู้แทนทางการทูตจะมีตั้งแต่แห่งละหนึ่งหรือสองคนขึ้นไป จนถึงแห่งละ 100 กว่าคนได้ แต่โดยส่วนเฉลี่ย คณะผู้แทนทางการทูต จะมีจำนวนระหว่าง 12 ถึง 24 คน สำหรับคณะผู้แทนทางการทูตที่ประจำอยู่ในนครหลวงของประเทศใหญ่ๆ เช่น ที่กรุงวอชิงตันดีซี กรุงลอนดอน กรุงปารีส กรุงมอสโก กรุงปักกิ่ง และกรุงโตเกียว เป็นต้น จะมีเจ้าหน้าที่ทูตมากกว่าปกติอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทาง การทูตได้บัญญัติอยู่ในมาตรา 11 ว่า ?1. เมื่อไม่มีความตกลงเฉพาะในเรื่องขนาดของคณะผู้แทน รัฐผู้รับอาจเรียกร้องให้ขนาดของคณะผู้แทนอยู่ในจำนวนจำกัดตามที่ตนเห็นว่า เหมาะหรือเป็นปกติได้ ทั้งนี้ โดยคำนึงถึงพฤติการณ์หรือสภาวการณ์ในรัฐผู้รับ และความจำเป็นของคณะผู้แทนเฉพาะราย 2. ภายในสถานการณ์ที่คล้ายคลึงกัน และบนมูลฐานที่ไม่เลือกปฏิบัติ รัฐผู้รับอาจปฏิเสธได้เช่นเดียวกัน ที่จะยอมรับพนักงานเฉพาะรายประเภทหนึ่งประเภทใดก็ได้?
|
Small and Medium-Sized Enterprises | ไม่ระบุศัพท์บัญญัติ | SME | วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม |
small arms | ไม่ระบุศัพท์บัญญัติ | | อาวุธขนาดเล็ก
หมายถึง อาวุธที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางของขนาดปากกระบอกปืนต่ำกว่า 100 มิลลิเมตร และสามารถพกพาไปใช้ได้โดยคนคนเดียว
|
Small Arms and Light Weapons | ไม่ระบุศัพท์บัญญัติ | SALW | อาวุธขนาดเล็กและอาวุธเบา |
Social Safety Nets | ไม่ระบุศัพท์บัญญัติ | | โครงข่ายรองรับทางสังคม
หมายถึง มาตรการในการให้ความช่วยเหลือทางสังคมแก่ประชาชนเพื่อบรรเทาภาวะวิกฤตต่าง ๆ อาทิ ปัญหาการว่างงาน ปัญหาความยากจน และการส่งเสริมผู้ด้อยโอกาสทางสังคม เป็นต้น ด้วยการดำเนินนโยบายระยะสั้นในการสร้างงาน การให้การฝึกอบรมวิชาชีพใหม่ และอื่น ๆ อันจะนำไปสู่การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างต่อเนื่องในระยะยาวและการพัฒนา สังคมอย่างรอบด้านในภาพรวม
|
SOM Sub-committee on ECOTECH | ไม่ระบุศัพท์บัญญัติ | ESC | คณะอนุกรรมการเจ้าหน้าที่อาวุโสเอเปคว่าด้วยความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจและ วิชาการ |
South Asia's Preferentral Trading Agreement | ไม่ระบุศัพท์บัญญัติ | SAPTA | ความตกลงพิเศษทางการค้าในภูมิภาคเอเชียใต้
ของ SAARC เป็นไปตามมติของที่ประชุมสุดยอดของ SAARC ครั้งที่ 8 ที่กรุงนิวเดลี เมื่อปี พ.ศ. 2538
|
South Asian Association for Regional Cooperation | ไม่ระบุศัพท์บัญญัติ | SAARC | สมาคมความร่วมมือแห่งภูมิภาคเอเชียใต้
จัดตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการเมื่อเดือนธันวาคม 2528 เพื่อส่งเสริมความร่วมมือด้านเศรษฐกิจและวิชาการระหว่างกัน โดยมีสมาชิกประกอบด้วยประเทศในภูมิภาคเอเชียใต้ 7 ประเทศ ได้แก่ อินเดีย ปากีสถาน เนปาล ศรีลังกา ภูฏาน บังกลาเทศ และมัลดีฟส์
|
South Asian Free Trade Area | ไม่ระบุศัพท์บัญญัติ | SAFTA | เขตการค้าเสรีในเอเชียใต้
ภายใต้ SAARC เป็นไปตามมติของที่ประชุมสุดยอดของ SAARC ครั้งที่ 10 ที่กรุงโคลัมโบ เมื่อปี พ.ศ. 2541
|
South Asian Growth Quadrangle | ไม่ระบุศัพท์บัญญัติ | SAGQ | โครงการสี่เหลี่ยมเศรษฐกิจแห่งเอเชียใต้
" เป็นโครงการความร่วมมือระหว่างบังกลาเทศ เนปาล อินเดีย และ ภูฏาน เพื่อปรับปรุงมาตรการความเป็นอยู่ของประชาชนในภูมิภาค เอเชียใต้ให้ดีขึ้น "
|
South Pacific Forum | ไม่ระบุศัพท์บัญญัติ | SPF | เวทีหารือของกลุ่มประเทศในภูมิภาคแปซิฟิกใต้
" จัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2514 ประเทศสมาชิกประกอบด้วย ออสเตรเลีย หมู่เกาะคุก ไมโครนีเซีย คีรีบาส หมู่เกาะมาร์แชล เนารู นิวซีแลนด์ นุย ปาปัวนิวกินี หมู่เกาะโซโลมอน ตูวาลู ซามัวตะวันตก วานูอาตู ตองกา ฟิจิ "
|
South-South Cooperation | ไม่ระบุศัพท์บัญญัติ | | ความร่วมมือใต้-ใต้ หรือ ความร่วมมือระหว่างประเทศกำลังพัฒนา
" เป็นความร่วมมือทางเศรษฐกิจและวิชาการที่ประเทศกำลังพัฒนา/ ด้อยพัฒนา ให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกันภายหลังจากที่ความ ช่วยเหลือทางเศรษฐกิจและวิชาการที่ประเทศที่พัฒนาแล้วได้ให้แก่ประเทศกำลัง พัฒนา/ด้อยพัฒนามีแนวโน้มลดลงและมีการนำเงื่อนไขอื่น ๆ มาผูกกับการให้ความช่วยเหลือมากขึ้น อาทิ ประเด็นสิ่งแวดล้อม โดยความร่วมมือทางเศรษฐกิจและวิชาการระหว่างประเทศกำลังพัฒนา/ด้อยพัฒนานี้ จะเป็นทั้งในลักษณะของการให้ (อาทิ ทุนการศึกษา/ทุนฝึกอบรม/ทุนดูงาน/ผู้เชี่ยวชาญ/วัสดุอุปกรณ์) ของประเทศใดประเทศหนึ่งแต่ฝ่ายเดียว อาทิ การให้ความร่วมมือด้านทุนฝึกอบรมระยะสั้นในสาขาการเกษตรของไทยแก่ประเทศใน แอฟริกา และในลักษณะของการแลกเปลี่ยนความร่วมมือระหว่างกัน "
|
Southeast Asia Collective Defense Treaty (Mahila Pact) | ไม่ระบุศัพท์บัญญัติ | SEATO | สนธิสัญญาซีโต้
สนธิสัญญานี้ได้มีการลงนามกัน ณ กรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ เมื่อวันที่ 8 กันยายน ค.ศ. 1954 ประเทศที่ลงนามในสนธิสัญญามีประเทศออสเตรเลีย ฝรั่งเศส นิวซีแลนด์ ปากีสถาน ฟิลิปปินส์ ประเทศไทย อังกฤษ และสหรัฐอเมริกา สนธิสัญญาได้มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1955ในภาคอารัมภบทของสัญญานี้ บรรดาประเทศสมาชิกต่างแสดงความปรารถนาที่จะประสานความพยายามของตนที่จะ ป้องกันร่วมกัน เพื่อธำรงรักษาไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคง โดยเฉพาะข้อ 4 ของสนธิสัญญาเป็นข้อสำคัญที่สุด คือ แต่ละประเทศภาคีคู่สัญญาตกลงเห็นพ้องกันว่า หากดินแดนของประเทศใดถูกรุกรานจาการโจมตีด้วยกำลังอาวุธ ประเทศภาคีทั้งหมดที่เหลือจะถือว่าเป็นอันตรายร่วมกัน และจะปฏิบัติการเพื่อเผชิญหน้ากับอันตรายร่วมกัน หรือถ้าหากพื้นที่ภายในเขตครอบคลุมของสนธิสัญญาถูกคุกคามด้วยประการใด ๆ ประเทศภาคีทั้งหมดจะปรึกษากันในทันที เพื่อตกลงในมาตรการเพื่อการป้องกันร่วมกันสำนักงานใหญ่ขององค์การซีโต้ตั้ง อยู่ในกรุงเทพมหานคร โดยที่สถานการณ์ทางการเมืองของโลกได้เปลี่ยนไปมากทำให้องค์การซีโต้หมดความ จำเป็น และได้ยุบเลิกไปนานแล้ว
|
Southeast Asia Fund for Institutional and Legal Development | ไม่ระบุศัพท์บัญญัติ | SEAFILD | กองทุนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อการพัฒนาสถาบันและกฎหมาย
ไทยและแคนาดาได้จัดทำร่างบันทึกความเข้าใจระหว่างกัน เพื่อจัดตั้งสำนักงานกองทุนฯ ในประเทศไทย
|
Southeast Asia Ministers of Education Organization | ไม่ระบุศัพท์บัญญัติ | SEAMEO | องค์การรัฐมนตรีศึกษาแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ |
Southeast Asia Nuclear Weapon-Free Zone Treaty | ไม่ระบุศัพท์บัญญัติ | SEANWFZ Treaty | สนธิสัญญาเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
" เป็นสนธิสัญญาของประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทั้ง 10 ประเทศ ลงนามในระหว่างการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 5 ที่กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2538 มีวัตถุประสงค์ในการส่งเสริมสันติภาพ และเสถียรภาพของภูมิภาคและส่งเสริมความพยายามระหว่างประเทศในระดับภูมิภาคใน การป้องกันการแพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์ ซึ่ง นอกจากเป็นส่วนประกอบสำคัญของแผนงานว่าด้วยเขตแห่งสันติภาพ เสรีภาพ และความเป็นกลางในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Zone of Peace, Freedom and Neutrality - ZOPFAN) แล้ว ยังเป็นการสนับ สนุนกระบวนการไม่แพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์ในเวทีระดับโลกอีกด้วย "
|
Southern African Customs Union | ไม่ระบุศัพท์บัญญัติ | SACU | สหภาพศุลกากรแอฟริกาใต้
จัดตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2512 ปัจจุบันประกอบด้วยสมาชิก 5 ประเทศ คือ บอตสวานา เลโซโธ นามิเบีย แอฟริกาใต้ และสวาซิแลนด์
|
Southern African Development Community | ไม่ระบุศัพท์บัญญัติ | SADC | ประชาคมเพื่อการพัฒนาแอฟริกาตอนใต้
" จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2535 ประกอบด้วย 14 ประเทศ คือ อังโกลา บอตสวานา เลโซโธ มาลาวี มอริเชียส โมซัมบิก นามิเบีย แอฟริกาใต้ สวาซิแลนด์ แทนซาเนีย แซมเบีย ซิมบับเว สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก และเซเชลส์ "
|
Southern Common Market (Mercado Común del Sur : MARCOSUR หรือ Mercado Commun do Sul : MERCOSUL) | ไม่ระบุศัพท์บัญญัติ | MERCOSUR | กลุ่มตลาดร่วมอเมริกาใต้ตอนล่าง
ก่อตั้งเมื่อเดือนมีนาคม 2534 ประกอบด้วยประเทศสมาชิก 4 ประเทศ ได้แก่ อาร์เจนตินา บราซิล ปารากวัย และอุรุกวัย โดยมีโบลิเวียและชิลีเป็นสมาชิกสมทบ
|
sovereignty | ไม่ระบุศัพท์บัญญัติ | | อธิปไตย อำนาจอธิปไตย |
Sovereignty | ไม่ระบุศัพท์บัญญัติ | | อธิปไตย
ประเทศที่มีอธิปไตยนั้นมีอิสระ ไม่ตกอยู่ภายใต้การควบคุมจากภายนอกประเทศ ในการดำเนินกิจการของประเทศตนทั้งภายในและภายนอกประเทศ
|
Special and Differential Treatment (S and D) | ไม่ระบุศัพท์บัญญัติ | | การประติบัติแบบพิเศษและแตกต่าง
" ในความตกลงต่าง ๆ ของ WTO จะมีข้อบทเกี่ยวกับการให้การปฏิบัติเป็นพิเศษและแตกต่างแก่สมาชิกที่เป็น ประเทศกำลังพัฒนา ข้อบท ดังกล่าวอาจแบ่งกว้าง ๆ ได้เป็น 3 ลักษณะ คือ (1) ข้อบทที่กำหนดให้ประเทศพัฒนาแล้วต้องดำเนินมาตรการเพื่อช่วยอำนวยความสะดวก ทางการค้าแก่ประเทศเหล่านี้ (2) ความยืดหยุ่นในการปฏิบัติตามพันธะกรณีในความตกลงต่าง ๆ อาทิ ระยะเวลาปรับตัวที่นานกว่าหรือระดับการเปิดตลาดที่น้อยกว่าประเทศพัฒนาแล้ว (3) การให้ความช่วยเหลือทางวิชาการเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะแก่ประเทศเหล่านี้ "
|
Special Envoy | ไม่ระบุศัพท์บัญญัติ | | ผู้แทนพิเศษที่ได้รับการแต่งตั้งหรือมอบหมายใน กรณีต่าง ๆ |
Specialised Agency | ไม่ระบุศัพท์บัญญัติ | | ทบวงการชำนัญพิเศษ
(ในกรอบสหประชาชาติ) เป็นองค์การปฏิบัติงานเฉพาะสาขา ได้รับการจัดตั้งโดยความตกลงระหว่างประเทศ และมีความสัมพันธ์กับสหประชาชาติตามความตกลงพิเศษ เช่น องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO)
|
sponsoring state parties | ไม่ระบุศัพท์บัญญัติ | | รัฐภาคีผู้อุปถัมภ์ |
Stalemate | ไม่ระบุศัพท์บัญญัติ | | ภาวะจนมุม
เป็นคำที่ยืมมาจากเกมหมากรุกและใช้ในความหมายที่ว่า ตกอยู่ในสภาพชะงักงันหรือทางตัน คำนี้จะใช้กันแพร่หลายในด้านการทูต และในด้านการเจรจาระหว่างประเทศ คือ ทั้งสองฝ่ายต่างยึดมั่นในหลักการของแต่ละฝ่าย ซึ่งแตกต่างกันได้ก็ด้วยอาศัยมือที่สาม หรือประเทศที่สามเข้ามาแทรกแซงแก้ไขให้
|
standing arrangement | ไม่ระบุศัพท์บัญญัติ | | แนวปฏิบัติที่วางไว้ |
State Banquet | ไม่ระบุศัพท์บัญญัติ | | งานเลี้ยงอาหารค่ำที่ประมุขของรัฐผู้รับจัดขึ้นอย่างเป็นทางการ เพื่อเป็นเกียรติแก่ประมุขของรัฐผู้มาเยือน
สำหรับงานเลี้ยงอาหารค่ำซึ่งประมุขของรัฐผู้มาเยือนอย่างเป็นทางการ จัดขึ้นเพื่อเป็นการตอบแทนแก่ประมุขของรัฐผู้รับ เรียกว่า Return Banquet
|
State of residence | ไม่ระบุศัพท์บัญญัติ | | รัฐถิ่นที่อยู่ |
State Peace and Development Council | ไม่ระบุศัพท์บัญญัติ | SPDC | สภาเพื่อสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐ
เป็นองค์กรปกครองสูงสุดของพม่าในปัจจุบัน เดิมมีชื่อว่าสภาฟื้นฟูกฎหมายและระเบียบแห่งรัฐ (SLORC - State Law and Order Restoration Council) อันเป็น กลุ่มทหารพม่าที่เข้ายึดอำนาจการปกครองในวันที่ 18 กันยายน 2531 ภายหลังจากที่ประชาชนชาวพม่าได้ออกมาเดินขบวนประท้วงรัฐบาลภายใต้การนำของ พรรคโครงการสังคมนิยมพม่า การเข้ายึดอำนาจรัฐในครั้งนั้นเป็นไปอย่างนองเลือดและคณะทหารดังกล่าวได้ให้ สัญญาว่าจะจัดให้มีการเลือกตั้ง แต่ภายหลังการเลือกตั้งในวันที่ 27 พฤษภาคม 2533 SLORC กลับปฏิเสธที่จะมอบอำนาจการปกครองให้แก่พรรค National League for Democracy (NLD) และเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2540 SLORC ก็ได้เปลี่ยนชื่อเป็น SPDC
|
Storage | ตัวสะสม การสะสม | | ตัวสะสม การสะสม |
strategic partnership | ไม่ระบุศัพท์บัญญัติ | | หุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์
เป็นลักษณะความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศที่มีความใกล้ชิดสนิทสนมอย่างยิ่ง อยู่บนพื้นฐานของความเสมอภาค มีนโยบายและแนวคิดทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และการทหารไปในแนวทางเดียวกัน
|
Strategic Plan of Action on Environment | ไม่ระบุศัพท์บัญญัติ | SPAE | แผนปฏิบัติการกลยุทธ์ด้านสิ่งแวดล้อม
เป็นแนวทางในการดำเนินการด้านสิ่งแวดล้อมของอาเซียน
|
Subcommittee on Neighbouring Countries Economic Development Cooperation | ไม่ระบุศัพท์บัญญัติ | | คณะอนุกรรมการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับ ประเทศเพื่อนบ้าน
มติคณะรัฐมนตรีเมื่อ 18 พฤศจิกายน 2546 ให้จัดตั้งคณะอนุกรรมการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน (อพบ.) ซึ่งคณะกรรมการนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ได้มีคำสั่งที่ 4 / 2547 เมื่อ 6 พฤษภาคม 2547 จัดตั้ง อพบ. แล้ว โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเป็นประธาน ผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจากภาครัฐและเอกชนเป็นอนุกรรมการ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติกับกรมเศรษฐกิจระหว่าง ประเทศ กระทรวงการต่างประเทศเป็นอนุกรรมการและฝ่ายเลขานุการ อพบ. มีหน้าที่พิจารณากลั่นกรองเสนอแนะนโยบาย แผนงานและโครงการตามแผนงานการจัดระบบเศรษฐกิจตามแนวชายแดนและการพัฒนาความ ร่วมมือทางเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งครอบคลุมการดำเนินงาน ACMECS ด้วย ทั้งนี้ ในส่วนของ ACMECS มีสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติทำหน้าที่เป็นหน่วย งานหลักในการประสานกับหน่วยงานภายในของไทยให้ดำเนินงานเป็นไปตามแผนปฏิบัติ การ และกระทรวงการต่างประเทศทำหน้าที่เป็นหน่วยงานหลักในการประสานกับประเทศ สมาชิก ACMECS
|
subject | ไม่ระบุศัพท์บัญญัติ | | คนในบังคับ |
submit a draft resolution | ไม่ระบุศัพท์บัญญัติ | | เสนอร่างข้อมติ |
subordinate | ไม่ระบุศัพท์บัญญัติ | | ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา |
Subregional Environmental Monitoring Information System | ไม่ระบุศัพท์บัญญัติ | SEMIS | ศูนย์ข้อมูลติดตามด้านสิ่งแวดล้อมในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง |
succession of states | ไม่ระบุศัพท์บัญญัติ | | การสืบทอดของรัฐ |
suite of honour | ไม่ระบุศัพท์บัญญัติ | | คณะผู้ติดตามเกียรติยศ
- สำหรับการเยือนอย่างเป็นทางการระดับประมุขของรัฐ จะประกอบด้วย ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ที่ประมุขของรัฐจัดให้มาประจำประมุขของรัฐผู้มาเยือน - สำหรับการเยือนอย่างเป็นทางการระดับหัวหน้ารัฐบาล จะประกอบด้วย รัฐมนตรีเกียรติยศ เอกอัครราชทูตไทยประจำประเทศผู้มาเยือน อธิบดีกรมพิธีการทูต พร้อมทั้งนายทหารเกียรติยศ ในกรณีที่ผู้มาเยือนมีคู่สมรส ก็จะเพิ่มคู่สมรสของคณะผู้ติดตามเกียรติยศ และนายตำรวจหญิงประจำ ตลอดการเยือน
|
Summit Diplomacy | ไม่ระบุศัพท์บัญญัติ | | การเจรจาตัวต่อตัวโดยตรง (Direct face-to-face negotiation) ระหว่างประมุขของรัฐ (Head of State) หรือ ระหว่างหัวหน้าของรัฐ (Head of Government)
ในปัจจุบันเรียกว่า การเจรจาสุดยอด
|
Superpower | ไม่ระบุศัพท์บัญญัติ | | อภิมหาอำนาจ |
suspension | ไม่ระบุศัพท์บัญญัติ | | การระงับการใช้บังคับของสนธิสัญญา |
sustainable development | ไม่ระบุศัพท์บัญญัติ | | การพัฒนาที่ยั่งยืน
หมายถึง การพัฒนาใด ๆ ที่ไม่ทำให้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้รับผลกระทบเสียหายและเกิดการ เสื่อมโทรม
|
Swedish International Development Cooperation Agency | ไม่ระบุศัพท์บัญญัติ | Sida | สำนักงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ แห่งสวีเดน |